การกำเนิดของ internet of things :: IoT
ในปี คศ. 1999 Kevin Ashton แห่ง Massachusettes Institute of Technology ได้นำเอาอุปกรณ์สองชนิดมาเชื่อมต่อแบบไร้สายผ่านระบบ radio frequency identification :: RFID ซึ่งคลื่นวิทยุจะทำการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองชนิด โดยสิ่งเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ internet ได้ และมันสามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันผ่าน ตัว RFID sensors การที่เทคโนโลยีนี้สามารถเชื่อมต่อ internet ได้ และเชื่อมต่อกันระหว่าอุปกรณ์ต่าง ๆได้ ทำให้คนเราสามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆได้แม้อยู่ในระยะไกล เข่น การเปิดปิดประตูรั้ว การเปิดปิดเครื่องปรับอากาศ แม้แต่ตรวจสอบปริมาณอาหารที่อยู่ในตู้เย็นขณะที่เรากำลังเดินอยู่ในห้างสรรพสินค้า
อุปกรณ์ต่าง ๆเชื่อมต่อกันได้อย่างไร
การประยุกต์ internet of things :: IoT ไปใช้งานด้าน ต่าง ๆ
::: wearables เป็นเครื่องประดับร่างกายที่เราจะใช้ติดตัวเราไปในที่ต่าง ๆ ในยุค internet of things :: IoT เครื่องประดับเหล่านี้จะถูกฝังด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กทำให้มันสามารถนำไปประดับไว้ตามส่วนต่าง ๆของร่างกายเราได้โดยที่เราไม่รู้สึกว่าเป็นภาระเลยที่จะนำมันติดตัวเราไปในทุก ๆที่ เครื่องประดับเหล่านี้จะมาในรูปแบบของ นาฬิกา แว่นตา รองเท้า สายรัดข้อมือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่นโทรศัพท์อัจฉริยะ ผ่าน application โดยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั้นมันอาจไวต่อ แสง อุณหภูมิ ความดัน ซึ่งทำให้มันสามารถตรวจจับอาการต่าง ๆของผู้สวมใส่ได้ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต พฤติกรรมการนอน พฤติกรรมการออกกำลังกาย การเผาผลาญแคลอรี วัดระยะทางการวิ่ง พิกัดทางภูมิศาสตร์ของผู้สวมใส่ เป็นต้น
::: smart city เมืองอัจฉริยะ ในยุคของ internet of things :: IoT จะมีการนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใข้เพื่อควบคุมคุณภาพชีวิตของพลเมืองให้ดีขึ้น ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆของเมืองได้อย่างง่ายดาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย โรงพยาบาล สถานีตำรวจ การจัดการระบบไฟฟ้า น้ำ ขยะมูลฝอย ผ่าน application บนโทรศัพท์อัจฉริยะ
::: smart home บ้านที่อยู่อาศัยในยุค internet of things :: IoT จะเป็นบ้านที่สะดวกสบายน่าอยู่มากขึ้น มีเวลาส่วนตัวสำหรับงานอดิเรก หรือสิ่งที่โปรดปราณมากขึ้น เพราะเราสามารถรวมเครือข่ายการสื่อสาร และเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆภายในบ้านได้ ทำให้เราสามารถควบคุม ดูแลตรวจตรา และสั่งการอุปกรณ์เหล่านี้ได้ทั้งจากในบ้าน และแม้แต่เมื่อเราอยู่ห่างไกลจากบ้าน
::: industrial internet เป็น internet of things :: IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรม โรงงานต่าง ๆ มีการวิจัยพบว่า internet of things :: IoT สามารถสร้างโอกาส และมีความเป็นไปได้อย่างมากสำหรับธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม และโรงงาน
::: smart grid เป็น internet of things:: IoT ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ควบคุมตั้งแต่การผลิต การจำหน่าย การจัดส่ง การเชื่อมต่อเข้ากับแหล่งพลังงานทางเลือก หรือการเชื่อมต่อเข้ากับผู้บริโภคผ่านมิเตอร์อัจฉริยะ เพื่อความมั่นคงปลอดภัย และเชื่อถือได้ โดยการส่งผ่านข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจากมิเตอร์อัจฉริยะไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ผลิต และจัดจำหน่าย เป็นการใช้ internet of things :: IoT ในการลดต้นทุนการดำเนินงาน แม้แต่การเชื่อมต่อข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดเข้าสู่ smart phone ของแม่บ้านเพื่อใช้ในการจัดการการใช้ไฟฟ้าสำหรับแต่ละอุปกรณ์ ก็เป็นการใช้ internet of things :: IoT ให้ช่วยประหยัดการใช้ทรัพยากรด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
::: connected car เป็นการนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาติดตั้งไว้ในอุปกรณ์ต่าง ๆในรถยนต์ เกิดเป็นรถยนต์อัจฉริยะ โดยอุปกรณ์ต่าง ๆสามารถสื่อสารกันเองเพื่อรวบรวมข้อมูล และประมวลผล เสนอเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย และสะดวกสบายสำหรับผู้ขับขี่ นอกจากนี้มันยังสามารถสื่อสารกับรถยนต์คันอื่น ๆได้อีกผ่านเครือข่าย internet ทำให้เรารู้ถึงความคับคั่งของการจราจร การเกิดอุบัติเหตุในเส้นทางต่าง ๆเพื่อใช้ในการตัดสินใจหลีกเลี่ยงบางเส้นทางเพื่อความปลอดภัย และรวดเร็วในการเดินทาง ผมมีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถเข้าชมได้ครับ Honda NueV ::: รถยนต์อัจฉริยะแห่งอนาคต เหล่านี้เป็นการใช้ internet of things :: IoT ในอุตสาหกรรมยานยนต์
::: connected health เป็นการประยุกต์ internet of things :: IoT ในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้ากับระบบบริการสุขภาพได้แบบครบวงจร ทั้งบนอุปกรณ์ และบุคลากรเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งระบบจะสามารถขยายขอบเขตการให้บริการด้านสุขภาพ ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน และประสานความร่วมมือได้อย่างครอบคลุม ตั้งแต่ ผู้ป่วย แพทย์ สถาบันวิจัย ร้านยา หน่วยงานรัฐ ประกันภัย ประกันสังคม หน่วยกู้ภัย สถานีตำรวจ และอื่น ๆ เข้าไว้ภายใต้ข้อมูลเดียวกัน ทำให้เกิดการบริการที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
::: smart farming เป็นการนำเอา internet of things:: IoT มาปรับใช้ในการบริหารจัดการการเกษตรยุคใหม่ที่สามารถใช้ได้ทั้งการกสิกรรม และปศุสัตว์ ที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นระบบสปริงเกอร์ การให้น้ำ การให้ปุ๋ย การให้อาหาร การจัดการมูลสัตว์ การวัดการเจริญเติบโต การเก็บเกี่ยว คุณภาพ และปริมาณของผลผลิต เป็นการทำการเกษตรแบบแม่นยำสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวคิดในการปรับใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์มากที่สุด เพื่อที่จะสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของพืช หรือสัตว์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะส่งให้เกิดผลดีตามจุดประสงค์ของเจ้าของฟาร์มในที่สุด
::: smart retail เป็นการประยุกต์เอา internet of things:: IoT มาใช้กับธุรกิจเชิงพาณิชย์ โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มโอกาสในทางการค้า โดยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า หรือสร้างความน่าสนใจ และความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า เช่นส่งข่าวสาร ข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รายละเอียดสินค้า ไปยังอุปกรณ์ของลูกค้าโดยตรง เป็นการลดต้นทุนด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และกระตุ้นยอดขายได้อีกทางหนึ่ง
::: smart supply chain เป็นการประยุกต์เอา internet of things :: IoT มาใช้จัดการห่วงโซ่อุปทานในกระบวนการระหว่างผู้ผลิต กับผู้ส่งวัตถุดิบ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลกำไร โดยเริ่มได้ตั้งแต่การจัดซื้อ การผลิต การจัดเก็บ การจำหน่าย การขนส่ง ที่จะสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้คนที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันในแต่ละขั้นตอน เข่นผู้ผลิต ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผู้จำหน่าย ลูกค้า เป็นการควบรวมเอาทุก ๆกระบวนการเข้าไว้ด้วยกันเป็นเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยี
บทสรุปของ internet of things