ตลาด Forex มาพร้อมกับเงื่อนไข และคำศัพท์เฉพาะของตัวเอง ดังนั้นก่อนที่คุณจะเรียนรู้วิธีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คุณจำเป็นต้องเข้าใจ คำศัพท์การซื้้อขาย Forex พื้นฐาน ที่คุณจะต้องพบเสมอ ในชีวิตการลงทุนในตลาดนี้
คำศัพท์การซื้อขาย Forex พื้นฐาน
Cross rate
อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างสองสกุล ซึ่งทั้งคู่ไม่ใช่สกุลเงินอย่างเป็นทางการของประเทศที่มีการเสนอราคาอัตราแลกเปลี่ยน เช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินปอนด์อังกฤษ และเยนญี่ปุ่น เมื่ออ้างอิงอยู่ในหนังสือพิมพ์ในสหรัฐ ในบริบทนี้ถือว่าเป็น cross rate และในหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน มีการยกอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินปอนด์ กับดอลลาร์สหรัฐ คู่นี้จะไม่ถือว่าเป็น cross rate เพราะการอ้างอิงนั้นเกี่ยวข้องกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
Exchange Rate
อัตราแลกเปลี่ยนในที่นี้หมายถึง มูลค่าของเงินสกุลหนึ่งที่แสดงอยู่ในรูปของเงินอีกสกุลหนึ่ง การบอกอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดฟอเร็กซ์ จึงแสดงอยู่ในรูปของ คู่เงินสองสกุล เช่น
EUR/USD = 1.45 หมายถึง 1 Euro มีค่าเท่ากับ 1.45 US$
Pip
Pip หมายถึง การเคลื่อนไหวของราคาที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ที่คู่สกุลเงินนั้น สามารถทำได้ เราเรียกเป็นจุด เช่น
1 pip ของคู่เงิน EUR/USD จะมีค่าเท่ากับ 0.0001 นั่นคือการขยับขึ้น/ลงของราคาของคู่สกุลเงิน EUR/USD อย่างน้อยที่สุดคือ 0.0001
1 pip ของคู่เงิน USD/JPY จะมีค่าเท่ากับ 0.01
คำที่คล้ายกันกับ pip คือคำว่า point ซึ่งหน่วย point จะเป็นหน่วยที่แสดงในโปรแกรม MT 4 ที่เป็นโปรแกรมที่นักลงทุนนิยมใช้อย่างมาก ในกรณีที่โบรกเกอร์ กำหนดให้มีการซื้อ/ขายคู่สกุลเงินต่าง ๆ ได้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ห้า การแสดงค่า pip และ point จะเป็นไปตามตารางข้างล่าง
ราคาก่อน | ราคาที่เปลี่ยนไป | pips | points |
1.35000 | 1.35010 | 1 | 10 |
1.35000 | 1.35015 | 1.5 | 15 |
1.35002 | 1.35025 | 2.3 | 23 |
1.35002 | 1 35102 | 10 | 100 |
1.35002 | 1.36115 | 111.3 | 1113 |
Leverage
เลเวอเรจ คือความสามารถในการเพิ่มมูลค่าบัญชีให้มากกว่ามูลค่าเดิมที่มีอยู่ ซึ่งค่าเลเวอเรจนี้จะถูกเสนอให้กับคุณโดยโบรกเกอร์ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการเทรด ที่เมื่อเปิดบัญชีในทุก ๆโบรกเกอร์ จะมีรายละเอียดของบัญชี ที่กำหนดค่า เลเวอเรจ ให้นักลงทุนเลือกได้เช่น 100:1, 200:1 ซึ่งเลเวอเรจนี้เองจะช่วยให้นักลงทุน ที่มีเงินเริ่มตันในบัญชีน้อย ให้มีกำลังทางการตลาด (market power) มากพอที่จะเข้าทำการเทรดได้ในบัญชีต่าง ๆได้
Lot Contract size กับบัญชีประเภทต่าง ๆ
โดยทั่วไป โบรกเกอร์จะกำหนดบัญชีประเภทต่าง ๆไว้เป็น 3 แบบคือ micro mini และ standard ซึ่งแต่ละบัญชีจะแตกต่างกันในเรื่อง จำนวนหน่วยสัญญาต่อ 1 lot ดังตาราง
ประเภทบัญชี | จำนวนหน่วยสัญญาต่อ 1 lot ของเงินสกุลหลัก |
micro | 1000 |
mini | 10000 |
standard | 100000 |
นั่นหมายถึง หากคุณต้องการเทรดคู่เงิน EUR/USD ในบัญชีแบบไมโคร คุณต้องมีเงิน 1000 ยูโร (สกุลเงินที่อยู่ข้างหน้าเป็นเงินสกุลหลัก) เป็นอย่างน้อย เพื่อจะทำการเทรด 1 lot และต้องมีเงินอย่างน้อย 10000 ยูโรในบัญชีแบบมินิ และบัญชีแบบสแตนดาร์ด คุณต้องมีถึง 100000 ยูโร แน่นอนว่าถ้าคุณมีเงินเริ่มต้นไม่มากพอ คุณจะไม่สามารถเข้าเทรดในตลาดฟอเร็กซ์ได้เลย ไม่ว่าจะในบัญชีใด ๆก็ตาม
ดังนั้นการใช้ เลเวอเรจ จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่มีเงินน้อย ได้สามารถเข้าเทรดในตลาด forex ได้ ตารางข้างล่าง แสดงศักยภาพของบัญชีแบบต่าง เมื่อใช้เลเวอเรจที่แตกต่างกัน สำหรับเงินทุน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อ/ขาย คู่ USD/JPY
leverage | เงินทุน us$ | ศักยภาพ | Standard lot | Mini
lot |
Micro lot |
100:1 | 100 | 10000 | X | 1 | 10 |
200:1 | 100 | 20000 | X | 2 | 20 |
1000:1 | 100 | 100000 | 1 | 10 | 100 |
จะเห็นว่าเมื่อคุณมีเงินในบัญชี 100 ดอลลาร์สหรัฐ คุณจะไม่สามารถเทรดคู่เงิน USD/JPY นี้ ในบัญชีแบบไหนก็ตามได้เลย หากว่า คุณไม่ใช้ เลเวอเรจ ( ในที่นี้ USD เป็นเงินสกุลหลัก ) และหากคุณเปิดบัญชีสแตนดาร์ด คุณต้องใช้ เลเวอเรจ สูงถึง 1000:1 จึงจะสามารถซี้อ/ขาย เงินคู่นี้ได้ 1 standard lot
Tip
# บัญชีประเภทต่าง ๆคือ standard, mini, และ micro เป็นการแสดงมูลค่าทางบัญชี ผู้ลงทุนจำเป็นต้องรู้ว่าบัญชีประเภทต่าง ๆ มีมูลค่า และเงื่อนไขเป็นอย่างไรบ้าง ก่อนการตัดสินใจเปิดบัญชี
# ควรระมัดระวัง ในการใช้ เลเวอเรจ การใช้ เลเวอเรจ สูง ๆจะเป็นอันตราย และอาจสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดได้ง่าย หากไม่มีการวางแผน การบริหารความเสี่ยงที่ดีพอ เลเวอเรจ จะช่วยให้คุณมีศักยภาพในการทำกำไรได้ดี แต่ขณะเดียวกัน มันก็มีกำลังมากพอที่จะทำให้คุณล้างพอร์ตได้ง่ายๆ เช่นกัน
Margin
เงินฝากที่จำเป็นในการรักษาสถานะของบัญชี เรียกเงินส่วนนี้ว่า มาร์จิ้น เมื่อคุณเลือกประเภทบัญชี และ เลเวอเรจ ที่เหมาะสมกับคุณได้แล้ว เมื่อคุณส่งคำสั่งซื้อ/ขายไปยังโบรกเกอร์ จะมีการกันเงินส่วนหนึ่งในพอร์ตของคุณ ไว้เป็นหลักประกัน (มาร์จิ้น) เมื่อคุณเปิดคำสั่งซื้อในคู่เงินคู่หนึ่ง จากนั้นกราฟก็เริ่มวิ่งลง ทำให้คุณขาดทุน เงินในพอร์ตก็จะลดลงเรื่อย ๆ และอาจติดลบ ที่จะทำให้บัญชีถูกปิดลง แน่นอนว่าโบรกเกอร์จะไม่ยอมขาดทุน จึงต้องทำการกันมาร์จิ้นเอาไว้นั่นเอง
Margin call และ Stop out
เมื่อมีการเปิดคำสั่งซื้อ/ขาย จะมี margin ส่วนหนึ่งจะถูกกันไว้เป็นหลักประกัน และหากเงินในบัญชีลดลงเรื่อย ๆไปจนถึงจุด ๆหนึ่ง ทางโบรกเกอร์จะส่งคำสั่งผ่านโปรแกรม MT4 เพื่อเตือนนักลงทุนเป็น margin call แสดงให้เห็นว่า เงินในบัญชีกำลังจะหมดลง และให้นักลงทุนเลือกที่จะปิดคำสั่งนั้นเสีย หรือไม่ก็ต้องเติมเงินเข้าไปในบัญชีเพิ่มขึ้นแทน และถ้านักลงทุนเลือกที่จะไม่ดำเนินการใด ๆเลย จนเงินในบัญชีลดลงถึงในระดับที่เป็นอันตราย ทางโบรกเกอร์จะทำการ stop out นั่นหมายถึง เป็นการบังคับปิดคำสั่งซื้อ/ขาย ของนักลงทุนโดยอัตโนมัติ
Tip
# margin ที่ถูกกักไว้ในบัญชีจะไม่หายไป จนกว่าคำสั่งนั้นจะโดนปิด
# การเปิดคำสั่งมากเกินไป หรือมี lot มากเกินไป ในผู้ที่มีเงินลงทุนน้อย จะทำให้เงินในพอร์ท ไม่พอสำหรับการรักษาสถานะของ มาร์จิ้นได้ การเลือกใช้ เลเวอเรจ สูง ๆจะช่วยในการกักมาร์จิ้นในแต่ละครั้งน้อยลงไป
# margin call และ stop out จะถูกกำหนดให้มีค่าไม่เท่ากัน ในแต่ละโบรกเกอร์ ให้เลือกโบรกเกอร์ให้ตรงกับนิสัย ความเสี่ยง และรูปแบบการลงทุนของคุณ
# currency contract specification นักลงทุนควรอ่าน ข้อกำหนดในสัญญาสำหรับการเทรดคู่เงินต่าง ๆ ให้ละเอียด ทำให้รู้ถึงรายละเอียดต่าง ๆ เช่น spread, digit (ซื้อ/ขาย ถึงทศนิยมที่ 4 หรือ 5) contract size ( จะช่วยบอกประเภทบัญชีที่คุณถืออยู่ จำนวนหน่วยสัญญาใน 1 lot) margin hedge ( การกำหนดการกักมาร์จิ้นที่ไม่เท่ากับมาร์จิ้นปกติ เมื่อมีการเปิดคำสั่งที่ตรงกันข้ามในคู่เงินเดิม )
Spread
คือความแตกต่างระหว่างราคาเสนอซื้อ และราคาเสนอขาย หากเห็นประกาศราคาว่า
EUR/USD 1.3250/03 นั่นหมายถึง ค่า spread เท่ากับ 3 pips ที่เกิดจากความแตกต่างของราคา 1.3250 กับ 1.3253
Bid/Ask
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเสนอราคาคู่สกุลเงินในตลาด Forex
เงินสกุลสำคัญ
ตัวย่อ | ชื่อสกุลเงิน |
USD | US Dollar |
EUR | Euro |
JPY | Japanese Yen |
GBP | British Pound |
CHF | Swiss Franc |
CAD | Canadian Dollar |
AUD | Australian Dollar |
NZD | New Zealand Dollar |
การเรียกชื่อคู่เงินในตลาด Forex ที่นักลงทุนมักเรียกเป็นชื่อเล่น ทั้งนี้คู่เงินนั้นจะมี USD เป็นส่วนประกอบไม่ว่าจะเป็นส่วน base currency หรือเป็น quote currency ก็ได้
คู่เงิน | ชื่อเล่น |
EUR/USD | Euro |
USD/JPY | Dollar/Yen |
GBP/USD | Cable หรือ Sterling |
USD/CAD | Dollar Canada หรือ Loonie |
USD/CHF | Swissy |
NZD/USD | Kiwi |
AUD/USD | Aussie Dollar |
คุณต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านคู่สกุลเงินอย่างถูกต้องก่อนทำการซื้อ/ขาย จึงควรเริ่มต้นด้วยสิ่งนี้
อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินสองสกุลจะถูกยกออกมาเป็นคู่ เช่น EUR/USD หรือ USD/JPY เหตุผลก็คือ ในการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ นั่นหมายถึงคุณกำลังซื้อเงินสกุลหนึ่ง ไปพร้อม ๆกับการขายเงินอีกสกุลหนึ่ง หากคุณออกคำสั่งซื้อ คู่เงิน EUR/USD นั่นคือคุณกำลังซื้อเงิน EUR และกำลังขายเงิน USD และคุณจะทำกำไรได้ก็ต่อเมื่อ EUR แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ USD
สกุลเงินแรกหน้าเครื่องหมาย / เรียกว่า เบสเคอเรนซี ( base currency ) และสกุลเงินที่อยู่หลังเครื่องหมาย / เรียกว่า เคาเตอร์เคอเรนซี ( counter currency หรือ quote currency )
ในคู่เงิน EUR/USD = 1.32100 หากคุณเปิดคำสั่งซื้อ นั่นหมายถึงคุณจะจ่ายเงินจำนวน 1.32100 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจะได้มาซึ่ง 1 ยูโร
และหากคุณเปิดคำสั่งขาย EUR/USD ก็คือคุณจะได้รับเงิน 1.32100 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อขาย 1 ยูโรนี้ออกไป
วิธีคิดง่าย ๆ เกี่ยวกับการเทรดในตลาด ฟอเร็กซ์ ก็คือ ไม่ว่าคุณจะเปิดคำสั่ง ซื้อ หรือขายในคู่เงินสกุลใด ๆก็ตาม นั่นคือคุณกำลังซื้อ หรือขายเงินที่อยู่ข้างหน้า / ที่เป็น base currency เช่น
คู่เงิน | คำสั่ง | ซื้อ | ขาย |
EUR/USD | ซื้อ | EUR | USD |
USD/JPY | ซื้อ | USD | JPY |
NZD/USD | ซื้อ | NZD | USD |
คู่เงิน | คำสั่ง | ขาย | ซื้อ |
EUR/USD | ขาย | EUR | USD |
USD/JPY | ขาย | USD | JPY |
NZD/USD | ขาย | NZD | USD |
พื้นฐานของการซื้อ/ขาย ในตลาดฟอเร็กซ์ คือ หากคุณคาดการณ์ว่าสกุลเงินที่เป็น base currency มีแนวโน้มว่าจะแข็งค่าขึ้น ( มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ) เมื่อเทียบกับ สกุลเงินที่เป็น quote currency ให้คุณเปิดคำสั่งซื้อ และหากคุณคาดว่า base currency มีแนวโน้มว่าจะอ่อนค่าลง (มูลค่าลดลง) เมื่อเทียบกับ quote currency ให้คุณเปิดคำสั่งขาย
Bid & Ask price
จากภาพเป็นประกาศราคาคู่เงิน EUR/USD
Bid Price
คือ ราคาที่ตลาด หรือโบรกเกอร์ของคุณ จะซื้อคู่สกุลเงิน EUR/USD จากคุณ ดังนั้นราคา bid จึงเป็นราคาที่นักลงทุนสามารถจะขายสกุลเงินคู่นี้ได้ทันที
Ask Price
คือราคาที่ตลาด หรือโบรกเกอร์จะขายคู่สกุลเงิน EUR/USD หากนักลงทุนพอใจที่จะซื้อในราคานี้ ก็สามารถเปิดคำสั่งซื้อได้ทันที
Bid/Ask Spread
เป็นส่วนต่างระหว่างราคาเสนอขาย ( Ask ) กับราคาเสนอซื้อ ( Bid )
ด้านบนทั้งหมดเป็น คำศัพท์การซื้อขาย Forex พื้นฐานที่จำเป็นต้องทราบ เพื่อความเข้าใจ และใช้ในการเรียนรู้ต่อไป